วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การทดลองครั้งใหม่ใช้ยามะเร็งที่ไวต่อความร้อน เพื่อการรักษาเนื้องอกได้อย่างตรงจุด



     นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford ประสบความสำเร็จค้นพบวิธีการปล่อยยาต้านโรคมะเร็งเข้าสู่เนื้องอกได้อย่างตรงจุดด้วยการใช้คลื่น Ultrasound เพื่อทำให้บริเวณที่มีเนื้อร้ายนั้นมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ทำให้เกิดการปล่อยยารักษาเนื้อร้ายได้อย่างตรงจุด และรักษาได้ตรงจุดมากขึ้นและในส่วนของรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ก็มาจากบรรดานักวิจัยของ The Lancet นั่นเอง
     การทดลองในครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการฉีดยาเคมีบำบัดแบบแคปซูลที่มีลักษณะไวต่อความร้อนเข้าไปในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ และเมื่อยาเดินทางเข้าไปในร่างกายแล้วก็จะได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงอัลตราโซนิค เพื่อให้เกิดความร้อนกับตัวยา ทำให้เกิดการปลดปล่อยตัวยาออกมาจัดการกับเนื้อร้าย
โดยการทดลองในครั้งนี้เป็นการทดลองในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับและอุณหภูมิความร้อนที่ให้กับตัวยาก็อยู่ที่ประมาณ 39.5 องศาเซลเซียส
หลังการทดลองนักวิจัยก็พบว่าคนไข้ที่ได้รับการทดลอง 10 คนมีค่าเฉลี่ยของร่างกายที่สามารถรับปริมาณเคมีบำบัดได้สูงขึ้นกว่าก่อนที่จะเข้ารับการทดลองถึง 3.7 เท่า
และแน่นอนว่าในขณะที่นักวิจัยจาก Oxford ค้นพบสิ่งเหล่านี้นักวิจัยจากทั่วโลกก็กำลังพยายามหาวิธีต่างๆ เพื่อร่วมกันต่อสู้กับโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เช่นเดียวกัน อย่างเช่นนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Duke ก็กำหนดเป้าหมายของกลุ่มการทดลองไปที่กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งสมอง ด้วยการปรับแต่งไวรัสโปลิโอให้มาจัดการกับมะเร็งสมอง ส่วนนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Illinois at Urbana-Champaign ก็ได้ทดลองสร้างกล้องที่สามารถทำให้มองเห็นเซลล์มะเร็งได้แม้แต่ในแสงไฟที่สว่างมากอย่างไฟในการผ่าตัดเป็นต้น
     วิเคราะห์ : นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford ประสบความสำเร็จค้นพบวิธีการปล่อยยาต้านโรคมะเร็งเข้าสู่เนื้องอกได้อย่างตรงจุดด้วยการใช้คลื่น Ultrasound เพื่อทำให้บริเวณที่มีเนื้อร้ายนั้นมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ทำให้เกิดการปล่อยยารักษาเนื้อร้ายได้อย่างตรงจุด และรักษาได้ตรงจุดมากขึ้นและในส่วนของรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ก็มาจากบรรดานักวิจัยของ The Lancet


ที่มา : THW

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น